เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 2. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[133] ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... โสต-
สัมผัสสชาสัญญา ... ฆานสัมผัสสชาสัญญา ... ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา ... กาย-
สัมผัสสชาสัญญา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญา
อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญา และอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ 1 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตาอย่างนี้ (1-9)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา
ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตา
ของเราแต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
มีสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ 2 อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาอย่างนี้ (2-10)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :205 }